คุณสามารถแลกลิ้งกับผมได้

.....คุณสามารถแลก ลิ้งกับผมได้นะครับโดยการ Comment วิธี Comment ก็กดตรงที่ Comment และจะมีช่องขึ้นมาให้คุณใส่ข้อความ ให้คุณพิมข้อความอะไรลงไปก็ได้ และต่อท้ายด้วย เว็บ หรือ บล็อก ของคุณ แล้วผมจะแอทลิ้งคุณลงในบัญชีของผม...ขอบคุณที่แอทครับ

*หมายเหตุ:กรุณาอย่าใช้คำที่ไม่สุภาพ



ออปติคอลไดรว์(Optical Drive)
ออปติคอลไดรว์(Optical Drive)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วยกระบวนการทำงานของแสงเลเซอร์ ปัจจุบันอุปกรณ์ออปติคอลไดรว์มีอยู่หลายอย่างดังนี้

ซีดีรอมไดรว์(CD-ROM Drive)

เป็นไดรว์ที่อ่านข้อมูลจากแผ่านซีดี(CD) ได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกหรือเขียนข้อมูลลงไฟบนแผ่นได้ ซึ่งแผ่นซีดีรอมโดยทั่วไปจะมีความจุข้อมูลประมาณ 650-700 MB โดยข้อมูลทั้งหมดบนแผ่นจะถูกบันทึกเป็นร่องเดียวต่อกันเป็นก้นหอยยาวตลอดทั้งแผ่น การอ่านข้อมูลบนแผ่นจะใช้ลำแสงเลเซอร์ขนาดจิ๋วไฟตกกระทบเท่า ของความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ซีดีรอม หรือที่เราเรียกกันว่า 52x และ 60x นั่นเอง ส่วนการเชื่อมต่อจะใช้สายแพ 40 เส้นต่ออินเตอร์เฟส IDE/ATA ของไดรว์ซีดีรอมกับคอนเน็คเตอร์ IDE (คอสโทรลเลอร์ฮาร์ดดิสก์) บนเมนบอร์ด แต่ไม่ควรต่อไดรว์ซีดีรอมกับฮาร์ดดิสก์บนสายแพหรือคอนโทรลเลอร์เดียวกันเพราะจะทำให้ฮาร์ดดิสก์รับส่งข้อมูลได้ช้าลง

ความเร็วและอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของไดรว์ซีดีรอม

ความเร็วในการอ่านข้อมูลบนแผ่นซีดีของไดรว์ซีดีรอมนั้น มีการกำหนดเป็นค่าของตัวเลขจำนวนเท่าเมือเทียบกับความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ซีดีรอม ซึ้งให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลขนาด 150 กิโลไบต์ต่อวินาที (KB/s) ปัจจุบันมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 60x ดังข้อมูล
  • จำนวนเท่าความเร็ว 1x ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล 150 KB/s
  • จำนวนเท่าความเร็ว 8x ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล 1,200 KB/s (1.2 GB/s)
  • จำนวนเท่าความเร็ว 52x ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล 7,800 KB/s (7.8 GB/s)
  • จำนวนเท่าความเร็ว 56x ความเร็วในการโอนถ่านข้อมูล 8,400 KB/s (8.4 GB/s)
  • จำนวนเท่าความเร็ว 60x ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล 9,000 KB/s (9.0 GB/s)
ดีวีดีรอมไดรว์ (DVD-ROM Drive)

เป็นไดรว์ที่สามารถอ่านข้อมูลได้จากแผ่นซีดี (CD) และดีวีดี (DVD) แต่สามารถบันทึกหรือเขียนข้อมูลงไปบนแผ่นได้ ซึ่งแผ่นดีวีดีโดยทั่วไปมีขนาดเท่ากับแผ่นซีดีแต่หนาหว่าเล็กน้อย และมีขนาดความจุข้อมูลสูงกว่าแผ่นซีดี สำหรับแผ่นดีวีดีในปัจจุบันจะมีขนาดความจุข้อมูลต่อแผ่นทั้งหมด 4 แบบคือ 4.7 GB หรือ DVD-5 (บันทึกข้อมูลเพียงชั้นเดียวด้านเดียว), 8.5 GB หรือ DVD-9 (บันทึกข้อมูลสองชั้นด้านเดียว), 9.4 GB หรือ DVD-10 (บันทึกข้อมูลเพียงชั้นเดียวสองด้าน) และ 17 GB หรือ DVD-18 (บันทึกข้อมูลสองชั้นสองด้าน) ปัจจุบันดีวีดีรอมไดรว์มีความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีสูงสุดประมาณ 8 ถึง 16 เท่าของความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ดีวีดีรอม (คิดเป็น 9 เท่าของความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ซีดีรอม) หรือมักเรียกกันว่า 8x และ 16x นั่นเอง ส่วนการเชื่อมต่อนั้น จะใช้รูปแบบเดียวกันกับไดรว์ซีดีรอม

ความเร็วและอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของไดรว์รอม

ความเร็วในการอ่านข้อมูลบนแผ่นดีวีดีของไดรว์ดีวีดีรอมนั้น มีการกำหนดเป็นค่าของตัวเลขจำนวนเท่าเทียบกับความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ดีวีดีรอมหรือคิดเป็น 9 เท่าของไดรว์ซีดีรอม ซึ้งให้อัตราความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลขนาด 1,350KB/s (เมื่ออ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดี) แต่ทั้งนี้ถ้าหากเป็นการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีความเร็วในการอ่านจะถูกกำหนดให้เป็นค่าของตัวเลขจำนวนเท่าเทียบกับความเร็วมาตราฐานที่ 1x ของไดรว์ซีดีรอม ดั้งนั้นอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ได้รับอาจลดต่ำลงไปตามสมควร ยกตัวอย่างเช่น ไดรว์ดีวีดีรอมความเร็ว 8x เมื่ออ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีจะให้แบนด์วิดธ์ที่ 10,800 KB/s (10.8 GB/s) แต่ถ่าหากเป็นการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีจะให้แบนด์วิดธ์ลดลงเหลือเพียง 6,000 KB/s เท่านั้นแต่ถึงอย่างไรก็มีความเร็วเทียบเท่ากับไดรว์ซีดีรอม 40x เลยทีเดียว ดังนั้นไดรว์ดีวีดีรอมทั้งหลายจึงมีความเร็วเกินพอสำหรับการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีอยู่แล้ว ดังข้อมูลต่อไปนี้
  • จำนวนเท่าของความเร็ว 1x ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 1,350 KB/s (1.35 GB/s)
  • จำนวนเท่าของความเร็ว 8x ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 10,800 KB/s (10.8 GB/s)
  • จำนวนเท่าของความเร็ว 16x ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 21,600 KB/s (21.6 GB/s)
ซีดีไรท์เตอร์ (CD ReWriter)
หรือมักเรียกว่า ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (CD-RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้เหมาะสำหรับการจักเก็บข้อมูลจำนวนมากๆโดยแผ่นซีดีที่นำมาใช้เขียนหรือบันทึกข้อมูลลงไปนั้นจะเป็แผ่น CD-R (เขียนเพียงครั้งเดียวแล้วปิดแผ่นหรือเขียนเพิ่มเติมลงไฟที่ละ Session ได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่นโดยไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนลงไปในแต่ละครั้งหรือทั้งหมดได้) หรือแผ่น CD-RW (เขียนเพิ่มเติมลงไปได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่น หรือลบข้อมูลทั้งหมดที่ถูกเขียนลงไปแล้วเพื่อเขียนข้อมูลอื่นซ้ำลงไปใหม่ได้กว่า 1,000 ครั้ง) ที่ 1 แผ่นสามารถจุข้อมูลได้มากถึง 660-700 MB ปัจจุบันไดร์แบบนี้กำลังจะตกรุ่นไป เพราะจะถูกแทนที่ด้วย ไดรว์ DVD-RW ส่วนการเชื่อมต่อนั้นจะใช้ลักษณะเดียวกับ ดีวีดีรอม

ความเร็วและอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของไดรว์ซีดีอาร์ดับบลิว

ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีของไดรว์ซัดีอาร์ดับบลิวนั้น มีการกำหนดเป็นค่าของตัวเลขจำนวนเท่าโดยเทียบกับความเร็วมาตรฐานที่ 1x ซึ่งให้แบนด์วิดธ์ที่ 150 KB/s เหมือนกับของไดรว์ซีดีรอม แต่ต่างกันตรงที่ไดรว์ซีดีดาร์ดับบลิวขะกำหนดค่าความเร็วในการอ่าน/เขียนหรือค่าของตัวเลขจำนวนเท่านี้ออกมา 3 ค่าคือ จำนวนของความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R/เขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-RW/อ่านข้อมูลจากแผ่น CD หรือที่เรียกว่า Write/Rewrite/Read นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ไดรว์ซีดีอาร์ดับบลิวที่ระบุความเร็วไว้ว่า 48x/24x/48x ก็จะหมายถึง ความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R=48X, ความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-RW = 24x และความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CD ทุกแบบ = 48x ซึ่งอัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแต่ละประเภท เวลาใช้งานจริงอาจขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวไดรว์เองว่ารองรับได้สูงสุดแค่ไหน และคุณสมบัติของแผ่นที่ใช้ว่าผลิตมาให้ใช้เขียนได้ในอัตราความเร็วสูงสุดที่เท่าไรด้วย

คอมโบไดรว์ (combo Drive)

เป็นไดรว์รวมเอาความสามรถในการอ่านขอมูลจากแผ่นซีดีและดีวีดี และการเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวเข้าด้วยกัน โดยช่วยประหยัดเนื่อที่กว่าการมีไดรว์ 2 ตัวอยู่ในเครื่อง และประหยัดงบประมารลงไปได้มากปัจจุบันคอมโบไดรว์กำลังหมดความนิยมลงไปเช่นกัน เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยดีวีดีไรท์เตอน์ (DVD ReWriter) ที่มีราคาถูกลงมาก ส่วนการเชื่อมต่อนั้นจะใช้รูปแบบหรือวิธีการในลักษณะเดียวกันกับไดรว์ซีดีรอม/ดีวีดีีรอม/ไดรว์ซีดีอาร์ดับบลิวทุกประการ






ความเร็วและอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของไดรว์แบบคอมโบ

ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีของไดรว์แบบคอมโบนั้น กำหนดเป็นค่าของตัวเลขจำนวนเท่าโดยเทียบกับความเร็วมาตรฐานืั้ 1x ซึ้งให้แบบคอมโบนั้น กำหนดเป็นค่าของตัวเลขจำนวนเท่าโดยเทียบกับความเร็วมาตรฐานที่ 1x ซึ้งให้แบนด์วิดธ์ที่ 150KB/s เหมือนกับของไดรว์ซีดีรอมหรือไดรว์ซีดีอาร์ดับบลิว ส่วนความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีของไดรว์แบบคอมโบนั้น ค่าของตัวเลขจำนวนเท่าจะคิดเทียบกับความเร็วมาตรฐานที่ 1x ของไดรว์ดีวีดีรอมหรือคิดเป็น 9 เท่าของไดรว์รอมหรือไดรว์ซีดีอาร์ดับบลิว ซึ่งให้แบนด์วิดธ์ที่ 1,350 KB/s (เมื่ออ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดี) ดังนั้นไดรว์แบบคอมโบจะมีการระบุค่าของตัวเลขจำนวนเท่านี้ออกมาทั้งหมด 4 ค่าด้วยกันคือ จำนวนเท่าของความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-R/เขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD-RW/อ่านข้อมูลจากแผ่น CD/อ่านข้อมูลจากแผ่น DVD หรือที่เรียกว่า Write/Rewrit/Read CD/Read DVD นั้นเอง เช่น 52x/32x/52x/16x เป็นต้น

ดีวีดีรีไรท์เตอร์ (DVD ReWriter)

หรือที่เราเรียกว่า ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (DVD+RW Drive) ปัจจุบันถือเป็นอุปรณ์ออปติคอลไดรว์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เป็นไดรว์ที่สามรถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีและดีวีดีได้ เหมาะสำหรับการจัดเก็บหรือสำรองข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้ในแผ่น DVD ที่มีขนาดความจุข้อมูลต่างๆกัน เช่น 4.7 GB หรือ DVD-5 (บันทึกข้อมูลชั้นเดียวด้านเดียว) และ 8.5 GB หรือ DVD-9 (บันทึกข้อมูลสองชั้นด้านเดียว : Double Layer) เป็นต้น ในอดีตขนาดข้อมูลลงไปบนแผ่น DVD ด้วยดีวีดีไรท์เตอร์นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐานคือ DVD-R และ DVD+R ซึ่งเวลาเลือกแผ่น DVD ที่จะนำมาใช้เขียนข้อมูลลงไปนั้นจะต้องเลือกชนิดของแผ่น DVD ว่าเป็น -R หรือ +R ให้ตรงกับชนิดไรเตอร์ด้วย แต่ปัจจุบันดีวีดีไรเตอร์โด้วยทั่วไปที่มีวางขายตามท้องตลาดแบบทั้งสิ้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถรับรองการเขียนข้อมูลลงไปบนแผ่น DVD ได้ทั้ง 2 มาตราฐาน หรือที่เรียกว่า Dual Format ซึ้งเวลาที่จะเลือกเขียนข้อมูลด้วยมาตรฐานใด (-R หรือ +R) ก็เพียงแต่นำเอาแผ่น DVD มาตรฐานนั้นมาใช้เขียน จากนั้นตัวดีวีดีรีไรเตอร์และโปรแกรมจะเขียนข้อมูลลงไปในมาตรฐานเดียวกัน (-R หรือ +R) กับแผ่นDVD ที่นำไปใช้โดยอัตโนมัติ สำหรับแผ่น DVD ที่นำมาใช้บันทึกข้อมูลลงไปนั้นมีอยู่หลายชนิด เช่น

DVD-R และ DVD+R เป็นแผ่นที่ใช้บันทึกข้อมูลลงไปเพียงครั้งเดียวแล้วปิดแผ่นหรือเขียนเพิ่มเติมลงไปที่ละ Session ได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่น โดยไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนลงไปในแต่ละครั้งหรือทั้งหมดความจุต่อแผ่นโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 4.7 GB
DVD-R DL และ DVD+R DL (DL คือ Double Layer) เป็นแผ่นที่ใช้บันทึกข้อมูลเหมือนกับ DVD-R และ +R แต่มีความจุสูงกว่าคือประมาณ 8.5 GB หรือที่เรียกว่า DVD-9 นั้นเอง


  • เป็นแผ่นที่ใช้บันทึกหรือลบข้อมูลออกแล้วเขียนข้อมูลซ่ำลงไปใหม่ได้มากกว่า 1,000 ครั้ง โดยที่เป็นแผ่น DVD-RW เวลาเขียนข้อมูลใหม่เพิ่มเติมลงไปที่ละ Session ก็จำเป็นจะต้องลบข้อมูลเก่าทั้งแผ่นออกก่อน หรือนำเอาข้อมูลเก่านั้นมารวมกับข้อมูลใหม่แล้วเขียนกลับลงไปพร้อมๆกัน ส่วนแผ่น DVD+RW สามารถเขียนเขียนข้อมูลใหม่ลงไปที่ละ Session ได้เลย โดยไม่ต้องลบข้อมูลเก่าทั้งแผ่นออกก่อน นอกจากนี้ทั้งแผ่น DVD-RW และ DVD+RW ยังสามาเขียนส่วนที่ต้องการเพิ่มเติมเข้าไปในแบบ Packet Writing เหมือนไดร์ซีดีอาดับบลิวได้ด้วย
สำหรับการเชื่อมต่อนั้นจะใช้รูปแบบหรือวิธีการในลักษณะเดียวกันกับไดร์ซีดีรอมไดรว์ดีวีดีรอม/ไดรว์ซีดีอาดับบลิว/คอมโบไดรว์ทุกประการ

ความเร็วในการเขียนแผ่น CD/DVD และอัตราการถ่ายโอนข้อมูลของดีวีดีรีไรท์เตอร์


ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีและดีวีดีของดีวีดีไรท์เตอร์นั้น มีการกำหนดเป็นค่าตัวเลขจำนวนเท่าโดยเทียบกับความเร็วมาตรฐานที่ 1x ซึ้งให้แบนนด์วิดธ์ที่ 150 KB/s และ 1,350 KB/s (คิดเป็น 9เท่าของไดรว์ซีดีรอม) ตามลำดับ สำหรับอัตรความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่นDVD-R,DVD-RW , DVD+R และ DVD+RW ของดีวีดีไรท์เตอร์แต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ดังนั้นเวลาจะเลือกไปใช้จึงต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้ให้ครบ เช่น
  • เขียนแผ่น DVD+R และ -R ความเร็วต่ำสุดที่ 4x (ปัจจุบัน DVD ReWriter) ส่วนใหญ่จะเขียนด้วย 8x และ 16x ไก้ทั้ง DVD+R และ -R อยู่แล้ว)
  • เขียนแผ่น DVD+RW และ DVD-RW ความเร็วต่ำสุดอยู่ที่ 2.4x และ 2x ตามลำดับ (ปัจจุบันไดรว์ DVD ReWriter) ส่วนใหญ่จะเขียนด้วยความเร็ว 4x และ 8x สำหรับ DVD+RW กบัความเร็ว 4x และ 6x สำหรับ -RW
  • เขียนแผ่น CD-R และ CD-RW ความเร็วต่ำสุดอยู่ที่ 40x และ 10x ตามลำดับ
ความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแต่ละประเภทเวลาใช้งานจริงอาจขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวไดรว์เองว่ารองรับได้สูงสุดแค่ไหน และคุณสมบัติของแผ่นที่ใช้ว่าผลิตมาให้ใช้เขียนได้ในอัตราความเร็วสูงสุดที่เท่าไรด้วย

************************************************************************************

ขอบคุณที่อ่านบทความของผมครับ
ปล.กว่าจะใช้เวลาเรียบเรียงข้อมูล นานมาก ทุกบทความผมให้เนื่อหาไปเต็มๆ
0 Responses

Post a Comment

  • แนะนำเว็บ

    My photo
    ComputerDodee.com เว็บนี้เป็นเว็บเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ...เกี่ยวกับการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ และการซ่อมคอมพิวเตอนะครับ จะบอกสาเหตุของปัญหาของต่างๆ และบอกวิธีการแก้ปัณหานั้นๆ รวมถึงมีวีดีโอให้คุณศึกษาระบบคอมพิวเตอร์นากจากนี้ รวมถึงอัพเดทข่าวสารต่างๆ อีกมากมาย *หมายเหตุ*ท่านสามารถขอ Software ได้ครับ // By Pick

    .

    สมาชิกประจำเว็บ กดตรง Follow

    ส่งบทความไปที่ Mail คุณ

    Enter your email address:

    Delivered by FeedBurner