คุณสามารถแลกลิ้งกับผมได้

.....คุณสามารถแลก ลิ้งกับผมได้นะครับโดยการ Comment วิธี Comment ก็กดตรงที่ Comment และจะมีช่องขึ้นมาให้คุณใส่ข้อความ ให้คุณพิมข้อความอะไรลงไปก็ได้ และต่อท้ายด้วย เว็บ หรือ บล็อก ของคุณ แล้วผมจะแอทลิ้งคุณลงในบัญชีของผม...ขอบคุณที่แอทครับ

*หมายเหตุ:กรุณาอย่าใช้คำที่ไม่สุภาพ



ฮาร์ดิสก์(Hard Disk)

Hard Disk
เป็นอุปกรณ์สำ
หรับจัดเก็บขอมูลที่มีความเร็วและมีความจุสูงมาก และใช้เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวระหว่างการทำงานของโปรแกรมหรือระบบปฎิบัติการด้วย ภายในอาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานแม่แหล็กซึ่งอาจมีแผ่นเดี่ยวหรือมีหลายแผ่นที่บัณทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียวหรือสองด้านของแผ่นก็ได้ โดยหมนุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อนาที(rpm)และมีหัวอ่าน/เขียนคอยวิ่งไปอ่านหรือบัณทึกข้อมูลตามคำสั่งที่ได้จาก ซีพียู ทั้งหมดจะบรรจุในกล่องโลหะที่ปิดสนิทปราศจากฝุ่นละอองใดๆ ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์นิยมใช้ทั่วไปบนเครื่องพีซีจะมีอินเตอร์เฟส (Interface) หลักๆอยู่ 2 แบบคือ IDE (Integreted Drive Electronics) หรือเรียกอีกอย่างว่า ATA (AT Attachmet) และ Serial ATA (SATA) ซึ้งรายละเอียดดังนี้

IDE (Integreted Drive Electronics) หรือ ATA (AT Attachmet)


IDE หรือ ATA เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟสสำหรับอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ที่มีใช้กันมานานมีทั้งสิ้น 40 ขา ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั่งแต่มาตรฐาน IDE/ATA ดั้งเดิมในยุคแรก ที่สนับสนุน การถ่ายโอนข้อมูลในโหมด PIO (Programmed I/O) และ DMA(Direct Memory Access) จนมาถึงยุคปัจจุบันคือ ATA/ATAPI-6 และ 7 หรือ Ultra-DMA/100 และ 133 ที่ให้แบนด์วิดธ์สูงถึง 100 และ 133 MB/s ตามลำดับ หรือก็คือมาตรฐาน Ultra-ATA/100 และ 133 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั่นเอง

Serial ATA(SATA)และ Serial ATA-II(SATA-II)


Serial SATA หรือ SATA เป็นมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟสสำหรับฮาร์ตดิสก์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ใช้วิธีรับส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (Serial) คือการรับส่งข้อมูลที่ละบิตอย่างต่อเนื่อง แบบเดียวกับพอร์ต USB และ Firewire แต่ใช้ความเร็วที่รับสูงกว่ามาตรฐาน IDE/ATA เดิมทีใช้รับส่งข้อมูลในแบบมาตรฐาน (Parallel)มาก โดยใช้ความเร็ว 1.5 และ 3 Gbps หรือเที่ยบเป็นการรับส่งข้อมูลทีละไบต์ (byte) ได้เท่ากับ 150 และ 300 MBps โดยประมาณ สำหรับมาตรฐาน SATA และ SATA-II ตามลำดับ ในส่วนของสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เฟสของฮาร์ตดิสก์แบบ SATA นี้จะมีขนาดเพียง 7 เส้นเท่านั้นแลัสามารถยาวได้ 1 เมตร (ไม่แผ่กว้างและสั้นเหมืนสายแพแบบ 40 หรือ 80 เส็นของ IDE/ATA เดิม) ส่วนหัวต่อสายพาวเวอร์ (Power จะเป็นแบบ 15 พิน ที่ใช้กับฮาร์ดิสก์แบบ SATA นี้โดยเฉพาะด้วย


*ขอบคุณ อ่านบทความของผมครับ



แผงวงจร(Mainboard)

ถ้าถามว่าในคอมพิวเตอร์ อะไรสำคัญที่สุด คำตอบที่ออกมาคงเป็น ซีพียู จะมีสักกี่คนที่นึกถึงความสำคัญของเมนบอร์ดบ้าง ลำพังอย่างเดียวจะไปทำอะไรได้ ถ้าในเครื่องคอมมีแผงวงจรอะไรมากมาย สามสี่แผง แล้วจะทราบได้ยังไงว่าแผงไหนคือ เมนบอร์ด สังเกตูดูที่แผงที่ใหญ่ที่สุดนั่นแหละคือสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึง


หน้าที่ของเมนบอร์ด

แผงวงจรหลักเปรียบเหมือนกับพื้นที่ชุมชน และ เส้นทางการคมนาคม และ แผงควบคุมการจราจร

เมนบอร์ด (Mainboard) จะมาชิพเซ็ตที่เป็นตัวบ่งบอกถึงรุ่นของเมนบอร์ด ในเมนบอร์ดจะประกอบด้วย socket สำหรับใส่ cpu
แต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน จะมีสล็อตแรม อยู่ประมาณ 2 สล็อต มีชิพ ไบออส (Bios) สำหรับ
เช็คอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ /มีสล็อตใส่การ์ดจอเรียกว่า AGP/สล็อตสีขาว คือ PCI ซึ่งใส่จำพวก
LANการ์ด /SOUNDการ์ด
เมนบอร์ดจมี socket เพื่อใส่ซีพียู เรามาดูกันว่า Socket แต่ละอันนั้น ใช้กับ CPU รุ่นใด
Socket 370 เป็นSocketรุ่นเก่ามากใช้CPUของ intel celeron ,pentuam เป็นต้น ซึ่งรุ่นนี้จะ
ออกมาเป็นรุ่นแรก ๆ
Socket 478 เป็นSocketที่ใช้ในCPUของ intel celeron D ,pentuam 4
Socket 775 เป็นSocketที่เพิ่งออกมา โดยทางบริษัท อินเทล เป็นผู้ผลิตออกมา ใช้กับซีพียูแบบใหม่ ซึ่งซีพียูรุ่นนี้จะไม่มีขา แต่จะมีขาอยู่ที่เมนบอร์ดแทน

เมนบอร์ดประกอบด้วย

1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเหมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกทีหนึ่ง อุปกรณ์ตัวนี้มีหน้าที่หลักคือ คอยควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ ชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยChip 2 ตัว คือชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI
กับชิพ PCI to ISA Bridgeหรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอม

โดยลักษณะการใช้งานนั้นจะขึ้นอยู่กับซีพียู ที่ใช้อยู่เป็นหลัก โดยแต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป



2. หน่วยความจำROMไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS หรือซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยู่ตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาได้รวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่าย ดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
ที่ทำหน้าเป็นเหมือนหน่วยความจำ และบัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการ การทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่ความเร็วสูงกว่า ทำให้เสียเวลา ไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำนั้น ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะCPUมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่CPUต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช

เราจะรู้ได้ยังไงว่าเมนบอร์ดที่เราใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง
หากอยากรู้เราทราบได้โดยไม่ยาก ให้ดูที่ด้านท้ายเคส จะมีพอร์ตสำหรับ
ต่อ เมาส์ และคีย์บอร์ด และถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือ ถ้าพบว่ามีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็สามารถเสียบใช้งานได้ ทันที

*ขอบคุณสำหรับ ที่อ่านบทความผมครับ






ซีพียู(CPU)สมองของคอมพิวเตอร์

ซีพียู (CPU:Central Processing Unit) หรือหน่วยประมวลผลกลาง เป็นส่วนประกอบซึ่งทำหน้าที่หลักในการประมวลผลต่างๆ ทั้งทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operatipn)เช่น ตัวเลข บวก ลบ คูณหาร และเปรียบเที่ยบข้อมูลทางตรรกศาตร์(Logical Operation)เช่น มากกว่า(>) น้อยกว่า(<) หรือเท่ากับ (=) เป็นต้น ความเร็วของซีพียูมักถูกระบุด้วยค่าความถี่ของสัญญาณนาฬิกา(Clock) เช่น 2.8 หรือ 3.6 GHz เป็นต้น ชึ้งเป็นตัวกำหนดความเร็วให้การทำงานของซีพียู และคอยให้จังหวะ ในการทำงานแก่วงจรและอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน ซึ้งมีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ (Hertz),เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) หรือ ล้าน Hz และกิกะเฮิร์ตช์(GHz) หรือพันล้าน Hz สัญญาณนาฬิกาเกี่ยวข้องกับซีพียูจะมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ

  • สัญญาณนาฬิกาภายในซีพียู เป็นสัญญาณนาฬิกาที่คอยให้จังหวะในการทำงานภายในตัวซีพียู หรือก็คือค่าความเร็วของซีพียูที่ผู้ผลิตระบุไว้ เช่น 2.8 หรือ 3.6 GHz เป็นต้นนั้นเอง
  • สัญญาญนาฬิกาภายนอกซีพียู เป็นสัญญาณนาฬิกาที่คอยให้จังหวะในการทำงานแก่บัส(Bus) ซึ่งเป็นเส้นทางลำเลียงข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เช่น บัสที่เชี่ยมระหว่างซีพียูกับชิปเซ็ตนั้นเอง เรียกว่า Front Side Bus(FSB)
ความสัมพันระหว่างความถี่ของสัญญาณนาฬิกาภายในกับถายนอกตัวซีพียูเป็นต้น ดังนี้




ตัวอย่างเช่นซีพียู Penttium4(Prescott-90nm) ความเร็ว 3.0 GHz ทำงานด้วย FSB 200 MHz (800 MHz Quad-Pumped) และตัวคูณเท่ากับ 15 จะมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาภายในตัวซีพียู(ความเร็วของซีพียู)เท่ากับ 15x200 MHz=300 MHz หรือ 3.0 GHz เป็นต้น





ความเร็วของ Front Side Bus(FSB)
ปัจจุบันความจุความเร็วของ FSB ในเครื่องรุ่นใหม่ๆจะอยู่ที่ 100 ถึง 266 MHz ขึ้นกับซีพียูที่ใช้
แต่บางครั้งอาจระบุค่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่านี้ เช่น FSB 400, 533 , 800 และ 1066 MHz ซึ้งตัวเลขดังกล่าวนี้
ซึ้งตัวเลขดังกล่าวนี้ไม่ใช่ความเร็วหรือความถี่ของสัญญาณนาฬิกาแท้จริงที่คอยให้จังหวะในหารทำงานแก่ FSB หากแต่เป็นความเร็วสุทธิ(effective bus speed) อันเป็นผลงานจากการใช้เทคนิคที่ช่วยรับส่งขอมูลได้มากกว่า 1 ครั่งในแต่ละลูกครื่นของสัญญาณนาใิกาที่กำกีบ FSB โดยซีพียูของ AMD ตั้งแต่รุ่น Sempron และ Athlon XP ขึ้นไป จะใช้เทคนิคที่เรี่ยกว่า Double Data Rate ช่วยให้สามารถรับส่งขอมูลได้มากถึง 2 ครั้งในแต่ละลูกคลื่น ขณะที่ ซีพียูของ Intel ตั่งแต่รุ่น Celeron D และ Pentium 4 ขึ้นไฟ จะใช้เทคนิคที่เรียก Quad Pumpad เพื่อช่วยให้สามารถรับส่งขอมูลได้มากถึง 4 ครั่งในแต่ละลูกคลื่น
ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน "ที่ผมพูดถึงนี้จะถือว่าความเร็วของ FSB คือความเร็วหรือความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่แท้จริง ซึ้งคอยให้จังหวะในการทำงานแก่ FSB ไม่ใช่ความเร็วสุทธิของ FSB"นอกจากซีพียูแล้วทั้งหน่วยความจำแบบ DDR และ DDR2 ซึ้งเป็นหน่วยความจำที่แพร่หลายมากที่สุดในขณะนี้ ก็ใช้เทคนิคที่ช่วยทำให้สามรถรับส่งข้อมูลได้มากและ DDR2 667 เป็นต้น ซึ้งหมายถึงหย่วยความจำแบบ DDR และDDR2 ทำงานด้วยความเร็ว FSB muj 133, 166, 200, 266 และ 333 MHz ตามลำดับ

(*หมายเหตุ หัวขอนี้มิได้โฆษณาแต่อย่างได จะบอกขอมูลต่างๆภายในเนื่อหา จึ้งขอย่กตัวอย่างของ Hardware บางรุ่นเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน)

***********************************************************************************
หุหุหว่าจะเรียบเรียงและเขียนเสร็ด ก็นานอยู่
หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะชอบ ขอบคุณที่อ่านบทความผมครับ







มาทำความรู้จักกับชิ้นส่านในเครื่องคอมพิวเตอร์กันเถอะ
ชิ้นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ คืออะไร?
คอมพิวเตอร์ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่ถูกสร้าง เพื่อช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกรวดเร็ว และมีความแม่นยำสูงในการทำงานต่างๆ เช่นการจัดเก็บขอมูล,วิเคราะห์งาน,คิดคำนวณ และปร
ะมวลผลข้อมูล ตลอดจนทำงานต่างที่เกินขีดความสามารถ ของมนุษย์ คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปที่ใช้งานกันมักถูกเรียกว่า พีซี(pc:personal Computer) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานส่วนบุคคลนั่นเอง








องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ประกอบไปด้วย 3 องค์กระกอบด้้วยกัน คือ

  • HARDWARE คือ ตัวเคื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกๆชิ้นที่เราสามารถจับต้องได้หรือสัมพัสได้ทั้งที่อยู่ภายนอกเครื่อง เช่น ซีพียู แรม แมนบอร์ด จอภาพ และอื่นๆ
  • SOFTWARE คือ โปรแกรมที่คอยสั่งการให้คอมพิวเตอร์ให้ทำงาน ตามที่เราต้องการ เช่น โปรแกรมระบบปัฎิบัติการ Windows และโปรแกรมประยุกต์อย่าง MS-Office เป็นต้น
  • PEOPLEWARE คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์กับตัวคอมพิวเตอร์ รวมถึงช่างคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)และอื่นๆด้วย
ส่วนต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบภายนอก

A*ซีดีรอมไดรว์ หรือดีวีดีไดรว์(CD-ROM Drive/DVD drive)ซีดีรอมไดรว์ใช้อ่านข้อมูลไดเจากแผ่นซีดีเท่านั้น ส่วนดีวีดีไดรว์ใช้อ่านข้อมูล ได้ทั้งจากแผ่นซีดีและดีวีดี ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่ยิยมใช้กันมาก
B*ซีดีอาร์ดับบลิว หรือดีวีดีอาร์ดับบลิว(CD-RW/DVD+/-RW)ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ใช้อ่าน/เขียนข้อมูลได้เฉพาะบนแผ่นซีดีเท่านั้น ส่วนดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ใช้อ่าน/เขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นจากแผ่นซีดีและดีวีดี ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่ใช้นิยมเป็นอย่างมาก
C*ฟล็อปปี๊ดิสก์ไดรว์(Floppy Disk Drive)เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้อ่าน/เขียนข้อมูลลงบนแผ่นฟล็อปปี๊ดิสก์
D*ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง หรื่อปุ่มPower มั่กใช้เพื่อเปิดเครื่องเท่านั้น เพราะเวลาปิดจะสั่ง Shutdown แทนแต่บางกรณีอาจกดปุ่มค้างไว้ประมาณ 3 วินาที ก็ใช้ปิดเครื่องได้เช่นกัน
E*ปุ่มรีสตาร์ทเครื่อง หรือปุ่ม Reset มั่กใช้เพื่อรีสตาร์ทเครื่องใหม่ ในกรณีที่เครื่องมีปัญหาหรือแฮงค์ เป็นต้น
F*ช่องต่อ USB พอร์ต เป็นช่องต่อแบบเสริมที่ถูกเพิ่มเติมไว้ทาง
ด้านหน้า/ข้างของตัวเครื่อง เพื่อเิ่มความสะดวกในการใช้งาน

G*เป็นช่องสำหรับใส่ Power Supply ตัวจ่ายไฟฟ้าให้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จะมีพัดลมสำหรับ Power Suppyl ใช้สำหรับระบายความร้อนภายในตัว Power Suppyl และยังมี ขั่วต่อใช้เสียบเข้ากับสาย Power ให้ต่อมาจากไฟบ้านหรือสำนักงาน
H*พอร์ต PS/2 ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเมาส์(สีเขียว)และคีบอร์ด(สีม่วง) เป็นต้น
I*ช่องต่อ USB พอร์ต ใช่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สแกนเนอร์,พรินเตอร์ เมาส์ คีบอร์ด และโมเด็ม เป็นต้น
J*พอร์ตอนุกรม(Serial Port) ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ต่างๆ เช่นเมาส์และโมเด็มเป็นต้น
K*ช่องเชื่อมต่อสายแลน หรือสายโทรศัพท์(LAN/Modam Conneetor) ถ้าเป็นการ์ดแลนจะใช้เชื่อมต่อเข้ากับหัวต่อของสายแลน
L*พอร์ตขนาน (Parallel Port) ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น พรินเตอร์ และจอยสติ้ก เป็นต้น
M*ช่องสำหรับเพิ่มการ์ดต่างๆ ช่องที่ใช้สำหรับเพิ่มความสามารถของคอมพิวเตอร์ โดยการใส่การ์ดเพิ่มความสามารถ เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียงหรือทราวการ์ด แต่ส่วนใหญ่จะ นิยมใส่ การ์ดจอ
O*ช่องเชื่มต่อกับลำโพงและอื่นๆ (Audio Conneetors) ใช้เชื่อใต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับการ์ดเสียง เช่น ลำโพง และไมโครโฟน เป็นต้น

ส่วนประกอบภายใน



Photobucket

A*อุปกรณ์จ่ายไฟกระแสไฟ(Power Supply) ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆภายในเครื่องเพื่อให้สามารถทำงานได้
B*เมนบอร์ด(Mainboard) เป็นแผงวงจรหลักขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์รวมการเชื่อมต่อของอุปกรร์ต่างๆ
C*พัดลมระบายอากาศ
ใช้ระบายความร้อนภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
D*ซีพียู (CPU) ทำหน้าที่ คิด คำนวณและประมวลผลขู้มูลต่างๆ *โดยปกติแล้วจะมีพัดลมระบายความร้อนสำหรับซีพียูติดตังอยู่*
E*หน่อยความจำ(RAM) ทำหน้าที่เป็นตัวคอยจดบัณทึกข้อมูลคำสั่งและพักข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้ซีพียูทำการประมวลผล

F*ชิปเซ็ต(Chipset) คอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ
G*การ์ดแสดงผล(Graphic Card) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้านภาพหรือกราฟิกเพื่อส่งสัญญาณภาพออกสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
H*การ์ดเสียง(Sound Card) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมู
ลและสร้างสัญญาณเสียงต่างๆเพื่อสัญญาณเสียงออกไปยังลำโพง
I*ช่องต่อการ์ดต่างๆ(Slot) เป็นช่องสำหรับเสียบการ์ดหรืออุปกรณ์เสริม เช่น การ์ดแลน การ์ดทีวี เป็นต้น
J*แบตเตอรี่ไบออส(BIOS Battery) ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้กับ CMOS เพื่อใช้เก็บรักษาข้อมูลและสัญญาณนาฬิกาภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
K*AGP Slot หรือ PIC Express Slot เป็นช่องที่เอาไว้เสียบเข้ากับอุปกรณ์การ์ดแสดงผล โดยการ์ดยุคเก่าจะใช้เสียบเข้ากับ AGP Slot ส่วนการ์ดยุคใหม่ จะเสียบเข้ากับ PCI Express x16 Slot
L*Harddisk(ฮาร์ดดิส) อุปกรณ์จัดเก็บขอมูล หรือหน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์จัดเก็บขอมูลต่างๆภายในเค่รื่อง
M*ตัวเครื่อง หรือเครส(Case) เป็นโครงสร้างของตัวเครื่องที่ใช้จัดเก็บอุปรณ์ต่างๆให้เข้าที่โดยมากมักทำจากวัสดุจำพวกโลหะหรืออลููมิเนียม

ความจุ หรือขนาดของข้อมูล

  • บิต(Bit) เป็นหน่วยวัดขนาดเล็กที่สุด โดยแต่ละบิตจะถูกแสดงด้วยตัวเลขไบนารี่(Binary Digits) คือ 0 หรือ 1 ซื่องจะบ่งบอกถึงสถานการทำงานนั้นเอง
  • ไบต์(Byte) เป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่สามรถพบเห็นโดยทั่วไป โดย 1 ไบต์ จะมีขนาด 8 บิต ใช้แทนตัวอักษรไดๆ เช่น ตัวเลข,พยัญชนะ หรือสัญญาลัษณ์ต่างๆได้ 1 ตัว
  • กิโลไบต์(Kilobyte หรือตัวย่อ KB) จะมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ หรือประมาณ 1,000 ไบต์ เที่ยบกับตัวอักษร ประมาณ 1,000 ตัวหรือประมาณ 1 หน้ากระดาษ
  • เมกะไบต์(Megabyte หรือตัวย่อ MB) จะมีค่าประมาณ 1,000 กิโลไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านไบต์ เทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัวอักษรหรือประมาณหนังสือ 1 เล่ม
  • กิกะไบต์(Gigabye หรือตัวย่อ GB) หน่วยวัดที่ใช้บอกความจุข้อมูลของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิส,แผ่นดีวีดี และอื่นๆโดยมีค่าประมาณ 1,000 เมกกะไบต์ หรือประมาณ 1 พันล้านไบต์ เที่ยบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 พันล้านตัวหรือประมาณหนังสือ ที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้หนังสือจำนวน 1 ตู้
  • เทอราไบต์(Terabyte หรือตัวย่อ TB) เป็นหน่วยวัดขนาดใหญ่มาก ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความจุมากถึงระดับนี้ แต่ด้วยปริมาณความต้องการขอมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานความจุระดับนี้จะเริ่มมีให้เห็นแหร่หลายมากขึ้น ซึ้งเทอามไบต์จะมีค่าประมาณ 1,000 กิกะไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ซึ่งเที่ยบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านล้านตัวหรือประมาณหนังสือทั้งหมดที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องสมุด
ขอจบบทความนี้ครับ
สำหรับหัวขอต่อไปผมจะบอกรายระเอียดเกี่ยวกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ว่ามีอะไรบ่างและบอกรายระเอียดกับชิ้นส่วนนั้นๆอย่างระเอียด







  • แนะนำเว็บ

    My photo
    ComputerDodee.com เว็บนี้เป็นเว็บเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ...เกี่ยวกับการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ และการซ่อมคอมพิวเตอนะครับ จะบอกสาเหตุของปัญหาของต่างๆ และบอกวิธีการแก้ปัณหานั้นๆ รวมถึงมีวีดีโอให้คุณศึกษาระบบคอมพิวเตอร์นากจากนี้ รวมถึงอัพเดทข่าวสารต่างๆ อีกมากมาย *หมายเหตุ*ท่านสามารถขอ Software ได้ครับ // By Pick

    .

    สมาชิกประจำเว็บ กดตรง Follow

    ส่งบทความไปที่ Mail คุณ

    Enter your email address:

    Delivered by FeedBurner